Parts of speech

ชนิดของคำ (Parts of speech)   ในที่นี้ มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ๗ ชนิด ได้แก่

๑.๑ คำนาม (Nouns) หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่

 ประเภทของคำนาม โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งประเภทของคำนามได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ วิสามานยนาม, สามานยนาม, และสมุหนาม ดังจะอธิบายต่อไปนี้
วิสามานยนาม (Proper Noun) หมายถึง คำที่เป็นชื่อเฉพาะของคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ โดยทั่วไปคำเหล่านี้มักขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่และจะไม่มีการผันพจน์ ได้แก่ ชื่อบุคคล อาทิ Chawin Varnabhumi, ชื่อตำแหน่ง, หรือชื่อสถานที่ อาทิ Bangkok, Thailand เป็นต้น
 สามานยนาม หรือคำนามทั่วไป (Common Noun) หมายถึง คำทั่วไปที่ใช้เรียกชื่อคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ โดยมิได้เป็นชื่อเฉพาะ เช่น a man, a cat, a pen, a lavatory เป็นต้น เราสามารถแบ่งสามานยนามออกเป็น ๒ กลุ่มย่อยๆ คือ นามที่นับได้ และนามที่นับไม่ได้

๑.๒ คำสรรพนาม (Pronouns)  หมายถึง คำที่ใช้แทนคำนาม ก่อนอื่น เพื่อให้เห็นภาพว่าคำสรรพนามเป็นอย่างไร จึงขอทบทวนเป็นประโยคภาษาไทยและแปลเป็นอังกฤษเหล่านี้ก่อน

- ผมรักคุณ I love you.
- คุณคือเมียสุดที่รักของผม You are the beloved wife of mine.
- นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะบอกให้คุณรู้ไว้ This is what I want to tell you,
- หลังจากที่คุณให้สิ่งนั้นกับผม after you gave “that” to me.
ในที่นี้จะแบ่งคำสรรพนามออกเป็น ๘ ชนิด (ตามสีในตัวอย่าง) ได้แก่

๑. บุรุษสรรพนาม (Personal pronoun) คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อจริงของคำนาม เช่น I, you, we, they เป็นต้น
๒. สามีสรรพนาม (Possessive pronoun) คือ คำสรรนามแสดงความเป็นเจ้าของ (ไม่ได้แปลว่าคำสรรพนามที่มีผัวแล้ว อะไรอย่างนี้นะคับ) เช่น mine, yours, hers เป็นต้น
๓. นิยมสรรพนาม (Definite pronoun) คือ คำสรรพนามที่ชี้เฉพาะ เช่น this, that เป็นต้น
๔. อนิยมสรรพนาม (Indefinite pronoun) คือ คำสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะ เช่น someone something เป็นต้น
๕. ปฤจฉาสรรพนาม (Interrogative pronoun) คือ คำสรรพนามที่ใช้ตั้งคำถาม เช่น what, where, when, why
๖. สรรพนามสะท้อน (Reflexive pronoun) คือ คำสรรพนามที่ใช้สะท้อนกลับถึงตัวประธาน เช่น himself, herself, myself, ourselves, themselves เป็นต้น
๗. วิภาคสรรพนาม (Distributive pronoun) คือ คำสรรพนามที่ใช้แบ่งพวก เช่น each of, either of, neither of
๘. ประพันธสรรพนาม (Relative pronoun) คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า ได้แก่ who, whom, where, when, that เป็นต้น

๑.๓ คำกริยา (Verbs) หมายถึง คำที่ใช้บ่งบอกการแสดงของภาคประธาน


๑.๔ คำคุณศัพท์ (Adjectives) หมายถึง คำที่ใช้ขยายคำนาม


๑.๕ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) หมายถึง คำที่ใช้ขยายคำกริยา, คำคุณศัพท์ หรือ


คำกริยาวิเศษณ์ด้วยกันเอง

๑.๖ คำบุพบท (Prepositions) หมายถึง คำที่ใช้บอกตำแหน่ง, เชื่อมวลี

๑.๗ คำสันธาน (Conjunctions) หมายถึง คำที่ใช้เชื่อมประโยค